ที่ประชุม ครม. ไฟเขียวงบประมาณกลาง 570 ล้านบาท เยียวยาเกษตรกรเลี้ยงหมู ที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากโรค ASF ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม ครม. วันนี้ (11 ม.ค. 65) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมผ่านระบบ วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ได้มีมติอนุมัติงบกลางประมาณ 570 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอในการแก้ปัญหาและเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดในสุกร
โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาหมูแพง
โดยเฉพาะการปรับขึ้นราคาเนื้อสุกร ที่หน้าเขียงตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 250 บาท จากการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF (African Swine Fever) ซึ่งการปรับตัวของเนื้อหมูทำให้สินค้าทดแทนอย่างไก่ และ ไข่ ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน รวมถึง ราคาวัตถุดิบอาหารอื่นๆ เช่น ผัก น้ำมันพืชก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์และเป็นห่วงพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ผมวิพากษ์การจัดหาวัคซีนของรัฐบาลที่ผิดพลาดโดยเฉพาะการแทงม้าตัวเดียว ผมไม่เคยเชิญชวนให้คนไม่ฉีดวัคซีน กลับกัน ผมยังชวนให้คนไปฉีดวัคซีน เพื่อปกป้องตัวเองและส่วนรวม
อย่างที่กล่าวข้างต้น ว่าผมพยายามอดทนอดกลั้นกับการกระทำของคนกลุ่มนี้ ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ถึงแม้ผมจะโดนตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็ตั้งใจว่าจะทำในสิ่งที่ผมพอจะทำได้ คือการทำงานการเมืองท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า, การรณรงค์ประเด็นสาธารณะที่สำคัญ และการทำงานความคิดประชาธิปไตยกับคนทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสังคมที่ผมและเพื่อนหวังจะเห็น
แต่การกระทำที่น่ารังเกียจของคนกลุ่มนี้ และการร่วมสนับสนุนโดยไอโอของรัฐบาล กองทัพและบางพรรคการเมือง ที่รังแต่จะสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชน ไม่ได้ทำร้ายผมคนเดียว ไม่ใช่ผมคนเดียวที่โดนทำลายจากคนกลุ่มนี้ ยังมีนักประชาธิปไตยและนักสิทธิมนุษยชนอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกคนกลุ่มนี้ทำลายชื่อเสียง
ดังนั้นผมจึงขอใช้สิทธิดำเนินการฟ้องคดีตามกฎหมายต่อคนกลุ่มนี้ และต่อองค์กรรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องไม่ให้รัฐนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองถืออยู่ในมือมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชน รวมถึงทำลายผู้ที่เห็นต่างกับรัฐอีกต่อไป
ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้ผมจากมิตรสหายและผู้สนับสนุนในสองสามวันมานี้ สิ่งต่าง ๆ นี้ ทำให้พวกเรามีพลังในการทำงานต่อไป ขอให้ทุกท่านที่อ่านข้อความนี้ ช่วยกดแบ่งปันให้ข้อความของผมเข้าถึงคนหมู่มากได้ เพื่อให้พวกเขารับข้อมูลทั้งสองด้าน และที่สำคัญกว่านั้น คือเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของการที่รัฐใช้ข้อมูลส่วนตัวของพวกเรามาเป็นเครื่องมือทางการเมืองรับใช้ผู้มีอำนาจ
‘รัชดา’ เผย ภูมิต้านทานวัคซีนเข็มกระตุ้น ป้องกัน โอมิครอน อะไรดีสุด?
รองโฆษกสำนักนายกฯ เผย ภูมิต้านทานวัคซีนเข็มกระตุ้น ต่อ โอมิครอน และ เดลตา ยก ซิโนแวคสองเข็ม ไฟเซอร์ เต็มด้วยป้องกันโควิดได้ดีสุด นางสาว รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เปิดเผยถึงผลวิจัยจากศูนย์วิจัยคลินิกศิริราชภูมิต้านทานโควิดสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สาม
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช รายงานผลการวิจัยเบื้องต้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิด PVNT50 ต่อ โควิด19 สายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน (ณ 10 ม.ค.65) ด้วยวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าเซเนก้า ไฟเซอร์ครึ่งโดส และไฟเซอร์เต็มโดส ที่ 2 สัปดาห์หลังกระตุ้นเข็มที่ 3 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนซิโนแวคหรือแอสตร้าเซเนก้ามาแล้ว 2 เข็ม
แนะนำให้ผู้ที่ฉีดซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม และแอสตร้าเซเนก้ามาแล้ว 2 เข็ม ควรฉีดเข็มกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ จะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงสุดทั้งต่อเดลตาและโอมิครอน สำหรับผลการวิจัยพบว่า
ซิโนแวค+ซิโนแวค+แอสตร้าเซเนก้า
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ = 587 GMT -ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2-3 เท่า = 170 GMT
ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์ครึ่งโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 1,002 GMT
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2 เท่า = 507 GMT
ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์เต็มโดส
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 1,143 GMT
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ระดับต่ำกว่าประมาณ 2 เท่า = 531 GMT
แอสตร้าเซเนก้า+แอสตร้าเซเนก้า+แอสตร้าเซเนก้า
-ให้ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตาได้ดี = 121 GMT
-สายพันธุ์โอมิครอนได้ไม่ดีนัก = 22 GMT
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป